Home Fit Trend FOOD FOR FIT ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย หญ้าหวานทางเลือกใหม่ปลอดภัยแบบไร้น้ำตาล

ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย หญ้าหวานทางเลือกใหม่ปลอดภัยแบบไร้น้ำตาล

รู้หรือไม่! องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคน้ำตาลต่อวัน ไม่เกิน 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา [4] แต่ทุกวันนี้คนไทยกินน้ำตาลมากถึง 20 ช้อนชาต่อวัน หรือเกินคำแนะนำมากถึง 3 เท่าต่อวัน ซึ่งจากสถิติในระยะ 5 ปีที่ผ่านมานี้ [5] มีจำนวนผู้ป่วยคนไทยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนคน และ *น้ำตาลยังเป็นภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหวานอร่อย มีผลเสียต่อการทำร้ายสุขภาพสูงมาก

ดร. ฟรานเชสโก บรังกา (Dr Francesco Branca) ผู้อำนวยการแผนกโภชนาการเพื่อสุขภาพและการพัฒนาขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่ามีผลการศึกษาและงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่า การบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 10% ของปริมาณพลังงานแคลอรี่ทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการมีน้ำหนักส่วนเกิน โรคอ้วน และฟันผุ แต่ไม่ได้กล่าวถึงน้ำตาลในผลไม้และผักสดและน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารธรรมชาติ เช่น นม เนื่องจากไม่มีผลการศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการบริโภคน้ำตาลเหล่านี้ [4]

การบริโภคน้ำตาลทั่วโลกนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและประเทศ ในยุโรปมีปริมาณการบริโภคน้ำตาลในผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 7-8% ของการบริโภคพลังงานทั้งหมด ในประเทศฮังการีและนอร์เวย์ มีปริมาณการบริโภคน้ำตาลในผู้ใหญ่ถึง 16-17% ในประเทศสเปนและสหราชอาณาจักร มีปริมาณการบริโภคน้ำตาล 12% ในประเทศ เดนมาร์ก สโลวีเนีย และสวีเดน มีปริมาณการบริโภคน้ำตาลในผู้ใหญ่ถึง 25% ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) วอนทุกประเทศลดการบริโภคน้ำตาลในผู้ใหญ่และเด็กให้เหลือน้อยกว่า 10% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ การลดลงอีกต่ำกว่า 5% หรือประมาณ 25 กรัม (6 ช้อนชา) ต่อวันจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น [4]

แต่การหลีกเลี่ยงน้ำตาลไม่ใช่เรื่องง่าย ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) คือทางเลือกหนึ่งที่ทำให้คนชอบกินหวานไม่ต้องปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน...หวานอร่อยแต่ปลอดภัย สุขภาพดีได้ ไม่ต้องง้อน้ำตาล
 
หญ้าหวาน

หญ้าหวาน (Stevia - สตีเวีย) คืออะไร?

หญ้าหวาน หรือที่เรียกติดปากสั้น ๆ ว่า “สตีเวีย” (Stevia) จัดเป็นสมุนไพรที่ให้ความหวานตามธรรมชาติ โดยมีการใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาล และใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เพื่อการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เรามาทำความรู้จักกับหญ้าหวานและสรรพคุณของหญ้าหวานแบบผู้รอบรู้กันค่ะ

"หญ้าหวาน" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Stevia rebaudiana (Bertoni) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สตีเวีย (Stevia) เป็นพืชสมุนไพรทางเลือกใหม่สำหรับใช้บริโภคทดแทนความหวานของน้ำตาล ที่มีผลการวิจัยมากมาย รวมถึง [20] องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอนามัยโลกด้านวัตถุเจือปนอาหาร (JECFA), สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA), รับรองแล้วว่า [21] รับประทานแล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งยังให้รสชาติหวานเหมือนน้ำตาลและกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ

หญ้าหวาน มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่เติบโตในบราซิลและปารากวัย ยังมีชื่อเรียกเป็นภาษาลาตินว่า “Yerba ducle” ที่แปลความหมายได้ว่า “สมุนไพรหวาน” ชาวปารากวัยพื้นเมืองนิยมนำหญ้าหวานมาใช้เพิ่มความหวานให้แก่อาหารและเครื่องดื่มมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนที่จะเริ่มมีการเพาะปลูกหญ้าหวานมากขึ้นในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองมักนำหญ้าหวานมาปรุงรสหรือใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น เนื้อปลาบด ซีอิ๊ว ผักดอง เต้าเจี้ยว เป็นต้น ในหญ้าหวานมีสารประกอบ ไกลโคไซด์ glycoside, สตีวิโอไซด์ stevioside, รีบาวดิโอไซด์ rebaudioside ที่ให้ความหวานแบบปลอดภัย

ในภายหลัง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2518 ต้นหญ้าหวานถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำพูน เนื่องจากภูมิภาคที่หญ้าหวานสามารถเติบโตได้ดีคือพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 600-700 เมตร และปลูกได้ในที่ที่อากาศค่อนข้างเย็นหรือประมาณอุณหภูมิที่ 20-26 องศาเซลเซียส

ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้หญ้าหวานได้กลายมาเป็นใบหญ้าหวานสกัดหรือวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่ราคาย่อมเยาว์ หาซื้อได้ง่าย อีกทั้งสรรพคุณของหญ้าหวานสกัดนับได้ว่าตอบโจทย์ผู้บริโภคหลายกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง

ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ดีกว่าอย่างไร?
ใบหญ้าหวานสกัด ให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่สุดของความหวานจากธรรมชาติและเป็นที่นิยมที่สุดในขณะนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรสหวาน แต่ต้องการหลีกเลี่ยงน้ำตาลทราย

6 สรรพคุณเด่น ของหญ้าหวานสกัดที่คุณอาจไม่เคยรู้
 
สตีเวีย

1. แคลอรี่ต่ำ
สรรพคุณของหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ที่โดดเด่นคือ การให้ความหวานที่ปราศจากคาร์โบไฮเดรต และจัดว่ามีพลังงานหรือแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคที่ต่ำมากจนอาจนับได้ว่าเป็น 0 แคลอรี่ (Zero Calorie) จึงอาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้เมื่อใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ทดแทนน้ำตาลปกติ (น้ำตาล ให้พลังงานประมาณ 45 แคลอรี่ต่อช้อนโต๊ะ 12 กรัม) ดังนั้นการใช้ใบหญ้าหวานสกัดแทนน้ำตาลอาจช่วยให้คุณอิ่มโดยได้รับแคลอรี่น้อยลง

อ้างอิงจากข้อมูลโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NIH: National Institutes of Health) จากการศึกษาในผู้ใหญ่ 31 คนที่รับประทานขนมขบเคี้ยวที่ทำจากหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) และให้พลังงาน 290 แคลอรี่นั้นรับประทานอาหารมื้อต่อไปในปริมาณเท่ากันกับผู้ที่ที่รับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลและให้พลังงาน 500 แคลอรี่ ทั้งสองกลุ่มมีรายงานระดับความอิ่มที่ใกล้เคียงกัน กล่าวได้ว่า กลุ่มผู้ที่รับประทานหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ได้รับปริมาณแคลอรี่โดยรวมลดลงในขณะที่ยังรู้สึกพึงพอใจเท่ากัน

2. มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาล
การเลือกใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) แทนน้ำตาลอาจเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเลือกใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ส่งผลเล็กน้อยมากหรืออาจไม่ส่งผลเลยต่อระดับกลูโคสในเลือด ระดับอินซูลิน และน้ำหนักตัว

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเอง ก็ยังมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่รับรองว่า สารสกัดจากใบหญ้าหวาน (สตีเวีย) ไม่ได้ให้แคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตในอาหาร และยังพบว่าใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือการตอบสนองของอินซูลิน ด้วยเหตุนี้การใช้ใบหญ้าหวานสกัดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายขึ้นตามแผนการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผลการศึกษาที่เชื่อถือได้ระบุว่า การใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ทดแทนน้ำตาลทรายมีส่วนช่วยในการลดค่าดัชนีไกลซีมิก (GI: Glycemic Index) หรือค่าดัชนีน้ำตาลได้ นั่นอาจหมายความว่าใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในระดับที่น้อยกว่า

ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน สารสกัดจากหญ้าหวาน (สตีเวีย) อาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ทีนี้ลองหันมาใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) เพื่อเติมความหวานกับโยเกิร์ต กาแฟร้อน หรือชาร้อนโดยไม่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรตกันดูนะคะ

3. ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล
สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะสรรพคุณของหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) นั้นมีความเชื่อมโยงกับการควบคุมระดับโคเลสเตรอลเช่นกัน เนื่องจากมีการศึกษาชิ้นหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 ชี้ว่าผงสกัดจากใบหญ้าหวานอาจช่วยจัดการกับโคเลสเตอรอลได้

อ้างอิงจากผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้ทำการรับประทานสารสกัดจากใบหญ้าหวาน 20 มิลลิลิตรทุกวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลของการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบหญ้าหวานมีส่วนช่วยในการลดโคเลสเตอรอลไม่ดีหรือชนิด LDL และไขมันไตรกลีเซอไรด์โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเชิงลบ ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มไขมันดีชนิด HDL แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่า การใช้ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ในปริมาณที่น้อยลงเป็นครั้งคราวจะสามารถให้ผลเดียวกันหรือไม่

4. ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อน
อีกหนึ่งสรรพคุณของหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) ที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้ คือ ในใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) จะมีสารสเตอรอล (Sterols) และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดรวมทั้ง สารเคมเฟอรอล (Kaempferol) ที่จัดอยู่ในกลุ่มสารพฤกษศาสตร์ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มักพบในผักและผลไม้ มีคุณสมบัติเด่นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจากการศึกษาชิ้นหนึ่ง พบว่าสารเคมเฟอรอลนี้สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อนได้ถึงร้อยละ 23 กล่าวได้ว่า ใบหญ้าหวานสกัด (สตีเวีย) อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพเช่นกัน

5. ลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินและเบาหวานในเด็ก
การบริโภคน้ำตาลในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลซูโครส น้ำตาลฟรักโตส นั้นมีความเชื่อมโยงกับการอักเสบ ภาวะน้ำหนักเกิน และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ และสำหรับในเด็กเองที่มักบริโภคอาหาร เครื่องดื่มโดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลสูงอาจนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่

ดังนั้นการควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหารจึงมีความสำคัญ ซึ่งใบหญ้าหวานสกัดอาจเป็นทางเลือกในการลดระดับแคลอรี่และความหวานที่ไม่จำเป็นสำหรับโภชนาการของเด็ก

ในประเทศไทยเอง มีผลวิจัยของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้กล่าวเสริมไว้ว่า การใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานมีความปลอดภัยในทุกกรณี โดยค่าสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยคือ ปริมาณ  7,938 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(น้ำหนักตัว)/วัน นอกจากนี้สารสกัดจากใบหญ้าหวานยังสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลได้ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนกำลังต้องการดูแลควบคุมโภชนาการโดยเฉพาะการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และกำลังมองหาทางเลือกสุขภาพดี ๆ สำหรับลูกรัก อาจลองเลือกใช้เป็นใบหญ้าหวานสกัดเป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลได้เช่นกันนะคะ

6. อัตราที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่ำ
สรรพคุณของหญ้าหวานที่แตกต่างจากน้ำตาลทรายอย่างเห็นได้ชัดคือ อัตราที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่ำ เนื่องจากไม่มีการบันทึกกรณีการแพ้ใบหญ้าหวานสกัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 แม้แต่สารสกัดจากหญ้าหวานในรูปแบบบริสุทธิ์สูงก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ

เมื่อปี ค.ศ. 2010 คณะกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งยุโรป (EFSA) ได้ทำการตรวจสอบและทบทวนเอกสารที่มีอยู่เพื่อตั้งข้อพิจารณาว่ามีสาเหตุที่น่ากังวลเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ต่อใบหญ้าหวานสกัดหรือไม่ ผู้ตรวจสอบให้ข้อสรุปว่า “สตีวิออล ไกลโคไซด์ไม่ทำปฏิกิริยาและไม่ถูกเผาผลาญเป็นสารประกอบที่ทำปฏิกิริยา ดังนั้นสตีวิออล ไกลโคไซด์ที่อยู่ระหว่างการประเมินจึงไม่น่าจะทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อบริโภคในอาหาร”

ผู้ที่มีประสบการณ์กับภาวะภูมิแพ้น้ำตาล (Sugar allergy) หรือมีอาการแพ้น้ำตาลซูโครส (Sucrose-isomaltose malabsorption) อาจลองหันมาใช้ใบหญ้าหวานสกัดหรือสตีเวียทดแทนน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้ซูโครส

หวานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือสุขภาพดีด้วย ฟิตเน่ สวีท
จะดีกว่าไหม? หากคุณได้พบกับผลิตภัณฑ์ให้ความหวานที่สามารถทดแทนน้ำตาลทรายได้ เพราะมีค่าแคลอรีต่อ 1 ช้อนชาเท่ากับ 0 แคลอรีที่จะมีส่วนช่วยคุณลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้นก็คือ ฟิตเน่ สวีท (FITNE’ Sweet)
ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย

ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย หวาน...ทางเลือกใหม่ ปลอดภัย ไม่ต้องง้อน้ำตาล
ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย ตอบโจทย์ความง่ายให้กับการทำอาหารในแต่ละมื้อโดยที่คุณไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำตาล มีความพิเศษตรงที่ใบหญ้าหวานจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า แต่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด จึงได้สารสกัดจากใบหญ้าหวาน ที่ให้รสหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า [2]  แต่ไม่มีพลังงานแคลอรี่ (0 แคลอรี่)
 
ใบหญ้าหวานสกัด

ด้วยความต่างที่ไม่เหมือนใคร ในรูปแบบ Spoon-to-Spoon (ช้อนต่อช้อน) คือ วิธีตวงแบบง่าย ช้อนต่อช้อนเทียบเท่าน้ำตาลทราย ได้รสหวานแบบพอดีไม่ต้องปรับปริมาณการปรุง ให้ทุกเมนูอร่อยเหมือนเดิม เพราะฟิตเน่ สวีท สตีเวีย เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลสกัดจากใบหญ้าหวานธรรมชาติ ให้รสหวานเหมือนน้ำตาลทราย แต่ไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี) 

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพจาก ฟิตเน่ ที่มากกว่าการใส่ใจ คือเลือกใช้แต่วัตถุดิบคุณภาพชั้นดี ด้วยกระบวนการผลิตและการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล จึงมั่นใจได้ถึงความสะอาด ปลอดภัย ถูกหลักอนามัยและได้การรับรองเครื่องหมายฮาลาล 

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล, ผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก [2] หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน สำหรับความสุขในทุกมื้ออาหารของคุณ

ถึงแม้ว่าการใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่ในปริมาณเล็กน้อยอาจเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพในการลดปริมาณน้ำตาล แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำตาลน้อยลง และใช้สารทดแทนน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม ตลอดจนถึงการเลือกใช้แหล่งความหวานจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลจากผลไม้ ร่วมด้วยนะคะ

รู้หรือไม่ โทษของน้ำตาลคืออะไร?
แล้วทำไมเราจึงควรเลิกหรือเลี่ยงการกินน้ำตาล
น้ำตาล

*น้ำตาล...ภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหวานอร่อย
น้ำตาลมีรสชาติหวานอร่อย แต่หากบริโภคมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า และเป็นต้นเหตุของการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

1. โรคอ้วน [6]
นิสัยการกินและการใช้ชีวิตหลายอย่างสามารถนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักและทำให้มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย อย่างการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน เครื่องดื่มรสหวาน ลูกอม ขนมอบ เค้ก เบเกอรี่ ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มน้ำหนักตัว เพราะน้ำตาลมีสารประกอบโดยรวมที่ทำให้อ้วนได้ง่าย เพราะแทนที่มันจะทำให้รู้สึกอิ่ม แต่กลับรู้สึกหิว เพราะกลูโคสไปช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกายที่กระตุ้นความหิว ดังนั้น คุณจึงต้องรับประทานเพิ่มมากขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะส่งไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) แต่เก็บไว้ได้เพียงจำนวน 50 กรัม หากมากกว่านี้ ตับจะส่งน้ำตาลกลับไปที่กระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน แล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก หน้าท้อง ต้นขา ต้นแขน ฯลฯ รู้ตัวอีกก็เป็นโรคอ้วนเสียแล้ว ซ้ำร้ายยังก่อให้เกิดอาการเสพติด คุณจึงตกอยู่ในวังวนของการกินน้ำตาลไปเรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด [6]

2. การเสพติดน้ำตาล [7]
ติดหวานอันตราย ส่งผลร้ายทำลายสุขภาพ ซึ่งคุณอาจจะกำลังเข้าข่ายอยู่ในภาวะเสพติดน้ำตาล โดยผู้ที่ติดรสชาติหวานจนเข้าข่ายเสพติดน้ำตาลนั้นเรียกว่า Sugar Blues คือจะมีความต้องการและอยากกินน้ำตาลอยู่ตลอดเวลา และจะมีความรู้สุกหดหู่ ซึมเซา อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ เกิดภูมิแพ้ และความดันโลหิตต่ำ ฯลฯ

สัญญาณเตือนภัยว่าคุณอยู่ในภาวะเสพติดน้ำตาล
  • ปวดหัวเมื่อไม่ได้กินของหวานในตอนเช้า อาจจะมาจากการไม่ได้กินกาแฟมื้อเช้าหรือเครื่องดื่มหวาน ๆ ตอนเช้า เป็นการเสพติดน้ำตาลอย่างหนึ่งที่ต้องสังเกตเอาไว้
  • ตู้เย็น ตู้กับข้าว มีแต่ขนมหวาน เปิดตู้ทีเจอแต่โดนัท ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ฯลฯ ทำไมไม่มีผลไม้บ้างเลย
  • อยากกินของหวานตลอดเวลา อะไรก็ได้ขอให้เป็นของหวาน หรือมีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นอันใช้ได้ทั้งนั้น บางคนกินของหวานมากกว่าอาหารหลักที่ต้องกินเป็นประจำเสียอีก เมื่อไม่ได้กินก็จะเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าได้กินเมื่อไหร่ ก็จะกลับมายิ้มแย้มแจ่มใสแทบจะทันที
  • ชอบกินแป้ง หรือกินขนมปังในระหว่างวันทั้งที่กำลังอิ่มอยู่ ก็เป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังติดหวาน เพราะการกินแป้งเข้าไปในร่างกาย สุดท้ายก็เปลี่ยนเป็นน้ำตาลอยู่ดี
  • เน้นกินแต่หวานหนัก ๆ บางคนชอบกินของหวานมากจนน่ากลัว เช่น การกินขนมเค้กที่มากกว่า 3 ชิ้นขึ้นไป หรือติดเครื่องดื่มชงเย็นตลอดเวลาแบบแก้วต่อแก้ว ซึ่งแต่ละเมนูก็จะใส่น้ำตาลลงไปในปริมาณมากเช่นกัน
  • ไม่สามารถกินอาหารแบบจืด ๆ ได้ หลายคนอาจรู้ตัวนะ และพยายามที่จะลดพฤติกรรมลง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะอดใจไม่ตักน้ำตาลเติมลงไปในก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ได้ บางคนยังเติมน้ำตาลเพิ่มลงไปในข้าวผัดเลยด้วยซ้ำ และผลสุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานความต้องการของสมองได้ และต้องตักใส่เข้าไปอีก 2 - 3 ช้อนชา บางคนยังไม่ได้ตักชิมก็เติมน้ำตาลก่อนแล้ว
  • มีปัญหาสุขภาพฟัน เพราะน้ำตาลเป็นบ่อเกิดของการสะสมแบคทีเรียในช่องปาก ผู้ที่ติดหวานจึงมักมีปัญหาในช่องปาก เช่น ฟันผุ ปวดฟัน ฯลฯ

3. โรคเบาหวาน [8]
โรคสุดฮิตที่เป็นกันมากขึ้นในหมู่คนเมือง คนวัยทำงาน โดยเฉพาะบุคคลจำพวกที่ชอบทำงานไปด้วยกินไปด้วย กินจุบจิบ กินอาหารหวาน กินอาหารที่หนักส่วนผสมของน้ำตาลทราย และกินอาหารประเภทแป้ง แต่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของอินซูลิน (ฮอร์โมนจากตับอ่อน) อย่างเวลาที่เรากินอาหารเข้าไป ร่างกายก็จะย่อยและคัดแยกสารอาหารรวมถึงพลังงานต่าง ๆ เข้าสู่เซลล์ภายในร่างกาย และโดยทั่วไปแล้วน้ำตาล จะถูกส่งเพื่อเป็นพลังงานในร่างกาย โดยมีฮอร์โมนอินซูลินเป็นตัวควบคุม แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงพอ จึงทำให้น้ำตาลไม่สามารถเดินทางไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้ นั่นจึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดความเข้มข้นและหนืดมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักและหลอดเลือดรับแรงดันมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในเวลาต่อมา ส่วนโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เบาหวานจะลุกลามไปถึงอวัยวะต่าง ๆ มีทั้งโรคเบาหวานที่ตา เลยไปถึงเข้าจอประสาทตา ซึ่งเป็นสาเหตุของตาบอดรองมาจากต้อกระจก เพราะเกิดจากการทำลายเส้นเลือดขนาดเล็กเป็นระยะเวลานาน และยังมีภาวะโรคแทรกซ้อนที่ประสาทส่วนปลายจากเบาหวานอีกด้วย

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าในปัจจุบันมีคนเป็นโรคเบาหวานทั่วโลกกว่า 387 ล้านคน 4 ใน 5 จากผู้ป่วยทั่วโลกคือคนเอเชีย! ซึ่งในช่วงการรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3.2 ล้านราย ในปี 2552 เป็น 4.8 ล้านรายในปี 2557 ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่าสามล้านคน และเสียชีวิตวันละ 27 คน และมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือในอีกความหมายก็คือ เบาหวานในร่างของคนอ้วน และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ อัตราการเป็นเบาหวานของคนเมืองและมนุษย์เงินเดือนพบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย

4. โรคหัวใจและหลอดเลือด [9]
มีงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจก่อให้เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนั้น การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก โดยเฉพาะจากเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล อาจทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ

สมาคมโรคเบาหวานอเมริกาได้เปิดเผยว่า น้ำตาล ไม่ใช่ทำให้เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย โดยพบว่าโรคหัวใจกลับเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในผู้ป่วยเบาหวานระยะที่ 2 ซึ่งคิดเป็น 65% ของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดที่เสียชีวิต

กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้มีการแนะนำปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันดังนี้
  1. เด็กอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  2. วัยรุ่นหญิง-ชาย 14-25 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา
  3. ผู้ชายวัยทำงาน 25-60 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา
  4. ผู้หญิงวัยทำงาน 25 - 60 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  5. ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
  6. คนที่ใช้พลังงานมาก อย่างเช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 8 ช้อนชา

5. โรคกระดูกพรุน / กระดูกเปราะ [10]
การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ร่างกายจึงต้องทำการปรับสมดุลนี้ด้วยการไปดึงแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้งานไม่เว้นแม้กระทั่งแคลเซียม จึงส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกพรุนตามมา

6. เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง [11]
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่นำพากลูโคสในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ และกระตุ้นให้เซลล์เผาผลาญกลูโคสแทนที่จะเผาผลาญไขมัน การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ที่เรียกว่า ภาวะต้านอินซูลิน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง และอินซูลินยังเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการเพิ่มทวีคูณของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น การมีระดับอินซูลินสูงอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้

มีงานวิจัยหนึ่ง [11] ศึกษาน้ำตาลกับการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มตัวอย่าง 430,000 ราย พบว่าการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งลำไส้เล็ก ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าผู้หญิงที่กินขนมปังหวานและคุกกี้มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ เสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่กินอาหารเหล่านี้น้อยกว่า 0.5 ครั้ง/สัปดาห์ ถึง 1.42 เท่า อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้าในประเด็นนี้ยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากนั้นมีส่วนก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งจริง แต่ในการศึกษาอื่นก็ขัดแย้งไม่ในทิศทางที่ว่า น้ำตาลไม่ใช่สารก่อมะเร็งโดยตรง แต่การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมน้ำตาลในเครื่องดื่มและอาหารแปรรูป อาจทำให้เกิดโรคอ้วนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคมะเร็งนั่นเอง [12]

7. เสี่ยงโรคซึมเศร้า [13]
นักวิจัยเชื่อว่าภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดปกติ และการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต โดยมีงานค้นคว้าที่พบว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาล 67 กรัม/วันหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 40 กรัม/วันถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองในผู้หญิง 69,000 คนแล้วพบว่า ผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณมากที่สุดมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณน้อยที่สุดอย่างเห็นได้ชัด และมีการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Public Health Journal ซึ่งติดตามผลจากคนกว่า 9,000 คน พบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้ากับการรับประทานน้ำตาลและอาหารฟาสต์ฟู้ด ว่า ผู้ที่รับประทานอาหารขยะติดต่อกัน 6 ปี เกือบ 40% มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารขยะซ้ำยังเกิดภาวะดื้ออินซูลินและสมองยังหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขน้อยลงอีกด้วย

8. ไขมันพอกตับ [14]
น้ำตาล เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตับสะสมไขมันไว้ตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า อาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบและโรคตับแข็งในอนาคตได้

9. ผิวมีริ้วรอยก่อนวัย [17]
น้ำตาล เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะไปเกาะหรือไปจับกับเส้นใยโปรตีนในร่างกาย แล้วเปลี่ยนเป็นโมเลกุลใหม่ที่ชื่อ AGEs (Advanced Glycation End-products) ซึ่งโมเลกุล AGEs นี้จะไปทำลายโปรตีนที่ชื่อว่าคอลลาเจนและอิลาสติก ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับและมีความยืดหยุ่น เมื่อโปรตีนเหล่านี้ถูกทำลายไปก็จะทำให้ผิวเหี่ยวย่นและหย่อนคล้อยก่อนวัยได้

10. ทำลายภูมิคุ้มกัน [15] [16]
มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันตรงกันว่า การกินน้ำตาล 1 ช้อนชา มีส่วนทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง 50% ในระยะเวลา 6 ชั่วโมง เนื่องจากน้ำตาลสามารถเข้าไปกดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว (เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่สำคัญคือคอยทำลายเชื้อโรคและปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม) หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานบกพร่อง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ถ้าในช่วงเวลา 6 ชั่วโมงที่มีการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมเข้าไปนั้น และจำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค คุณก็จะมีโอกาสป่วยหรือติดเชื้อโรคได้ง่ายกว่าคนอื่นแม้จะไม่เป็นโรคอะไรเลย เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันร่างกายเพียงครึ่งหนึ่งนั่นเอง

ที่มา:
[1] https://www.livestrong.com/article/536467-does-stevia-affect-insulin/
[2] https://members.wto.org/crnattachments/2012/sps/THA/12_4623_00_x.pdf ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่4) สตีวิออลไกลโคไซด์ วันที่ 17 สิงหาคม 2555
[3] https://hd.co.th/what-is-stevia-pros-and-cons หญ้าหวาน (Stevia) หญ้าหวานคืออะไร ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประโยชน์และอันตราย
[4] https://www.who.int/news/item/04-03-2015-who-calls-on-countries-to-reduce-sugars-intake-among-adults-and-children 
[5] https://www.cmu.ac.th/th/article/721aafe7-8ba0-48c8-a5c7-3b27cbe60a7b มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
[6] https://www.healthline.com/nutrition/does-sugar-make-you-fat น้ำตาลทำให้อ้วน
[7] https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-sugar-addiction เสพติดน้ำตาล
[8] https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/enjoy-food/eating-with-diabetes/food-groups/sugar-and-diabetes น้ำตาลทำให้เป็นเบาหวาน
[9] https://www.pobpad.com/น้ำตาล-ภัยร้ายที่มาพร้อ น้ำตาล ภัยร้ายที่มาพร้อมความหวาน
[10] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6140170/ น้ำตาล กับ โรคกระดูกพรุน
[11] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3494407/ น้ำตาล กับ โรคมะเร็ง
[12] https://www.cancer.org.au/iheard/does-sugar-cause-cancer น้ำตาลทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่?
[13] https://www.healthline.com/health/depression/sugar-and-depression ความเชื่อมโยงระหว่างน้ำตาลกับภาวะซึมเศร้า
[14]  https://www.webmd.com/hepatitis/ss/slideshow-surprising-liver-damage น้ำตาลอาจทำร้ายตับ
[15] https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1199882 น้ำตาลความหวานซ่อนมรณะ
[16] https://www.cnet.com/health/nutrition/sugar-can-lower-your-immune-system/ น้ำตาลทำลายภูมิคุ้มกัน
[17] https://www.drweil.com/health-wellness/body-mind-spirit/hair-skin-nails/does-sugar-cause-wrinkles/ น้ำตาลทำให้ผิวเกิดริ้วรอยหรือไม่?
[18] https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/871 
[19] https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/871 
[20] https://apps.who.int/food-additives-contaminants-jecfa-database/Home/Chemical/267 
[21] https://steviaworld.com/industry-approvals
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ