โกโก้ VS ช็อกโกแลต ประโยชน์จากงานวิจัยต่างกันอย่างไร
FOOD FOR FIT
21 December 2023
1,327
เครื่องดื่มสีน้ำตาลเข้ม รสชาติเข้มข้น มีประโยชน์มากมายและดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น ลองทายดูว่าคืออะไร? เชื่อว่าหากคำถามนี้ถูกถามผู้คนหลักสิบ อาจจะมีห้าคนที่ตอบว่า “โกโก้” ส่วนอีกห้าคนจะอาจตอบว่า “ช็อกโกแลต” และคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าแท้จริงแล้ว โกโก้ไม่เท่ากับช็อคโกแลต แล้วทำไมสองสิ่งนี้ถึงได้มีลักษณะ รูป สี รส คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออกแบบนี้ FITNE มีคำตอบ
1. โกโก้ และ ช็อกโกแลต มาจากไหน ?
ต้นกำเนิดของทั้งโกโก้และช็อกโกแลตนั้นมาจากเมล็ดคาเคา (Cacao) หรือต้นโกโก้ โดยมีกรรมวิธีหลายขั้นตอนทั้ง หมัก คั่ว บด ที่คล้ายคลึงกันแต่แตกต่างที่ขั้นตอนการสกัดไขมันโกโก้ (โกโก้บัตเตอร์) เท่านั้น
1.1 จากเมล็ดคาเคาสู่โกโก้
เริ่มจาก การนำฝักโกโก้ที่สุกแล้ว ไปหมักเพื่อให้เกิดรสชาติ และตากให้แห้ง จากนั้นให้นำไปคั่วที่อุณหภูมิพอเหมาะจนเปลือกกล่อน จนหมดก็จะได้เป็น “โกโก้นิปส์” จากนั้นนำโกโก้นิปส์ไปบด ไม่ใช่บดแบบธรรมดานะคะ แต่เป็นบดในอุณหภูมิที่สูง เพราะความร้อนจะช่วยให้โกโก้มีสีน้ำตาลเข้มจนกลายเป็นโกโก้ลิเคอร์ แต่แค่นี้ยังร้อนไม่พอ เจ้าโกโก้สีน้ำตาลเข้มยังต้องถูกนำไปบีบอัดด้วยความร้อน เพื่อสกัดไขมันโกโก้ออกไปจนหมดหรืออาจจะเหลือแค่ 0 - 25% เท่านั้น จากนั้นในขั้นตอนสุดท้ายคือการนำเนื้อโกโก้ไปตากแห้งและบดเป็นผงละเอียดจนกลายเป็น “ผงโกโก้” ที่มีความเขมข้น
1.2 จากเมล็ดคาเคาสู่ช็อกโกแลต
ช็อกโกแลตนั้นมาจากเมล็ดคาเคาเช่นกัน โดยมีกระบวนการผลิตเหมือนกันกับผงโกโก้ด้วย แต่ส่วนที่ต่างกันนั้นคือเมื่อการหมักเมล็ดคาเคามาหมัก เพื่อให้เกิดจุลินทรีย์ เร่งอาหารมากมายที่อยู่ในเมล็ดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดแล้วนำไปตากแห้งเหมือนกันจนเกิด โกโก้ลิเคอร์แล้วจะไม่มีการสกัดไขมันโกโก้ที่เรียกว่าโกโก้บัตเตอร์ออกไป แต่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุดิบอื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำมันปาล์ม เป็นต้น แล้วค่อยไปตากแห้ง บดให้ละเอียดเช่นกัน ซึ่งทำให้ช็อกโกแลตที่เราได้บริโภคนั้นจึงมีรสชาตหวานหอม ติดหวาน และสามารถขึ้นรูปได้สวยงาม
จากที่มาข้างต้นสรุปได้ว่า โกโก้และช็อกโกแลตเป็นเสมือนแฝดเทียมกันค่ะ กำเนิดมาจากที่เดียวกัน ต่างกันแค่เพียงขั้นตอนการผลิต และปริมาณของ ไขมันโกโก้ที่มีไม่เท่ากัน และเจ้าโกโก้ที่มีไขมันโกโก้มากกว่านี่แหละจึงกลายเป็น ความอร่อยที่มีประโยชน์แบบมหาศาล แต่ช็อกโกแลตก็ใช่ว่าจะให้โทษ เพียงแต่ต้องเลือรับประทานแบบดาร์กช็อกโกแลตหรือช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้เกิน 70%
2. ท่องโลกประโยชน์ของโกโก้จากงานวิจัย [1]
โกโก้นั้นอยู่เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตตลอดกาลมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมมายาในอเมริกากลางและแพร่หลายสู่ยุโรปในศตวรรษที่ 16 โดยมีงานวิจัยและศึกษาหลายฉบับสรุปได้ว่าโกโก้นั้นมีประโยชน์มากมาย เต็มไปด้วยโพลีฟีนอลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
โดยโพลีฟีนอลคือกลุ่มของสารที่ให้สีที่พบในพืชผักผลไม้ทั่วไป อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยการทำงานของสมอง และอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งบางชนิด
ปัจจุบันมีการค้นพบโพลีฟีนอลมากกว่า 8,000 ชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่พบในพืชและอาหาร คือฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย โดยสารในกลุ่มโพลีฟีนอลมากกว่าครึ่งหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์
กรดฟีนอลิก (Phenolic Acids) เช่น สารสติลบีน (Stilbenes) และสารลิกแนน (Lignans) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับสารอื่น ๆ ในกลุ่มโพลีฟีนอล และมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในร่างกาย พบได้ประมาณ 30% จากสารในกลุ่มโพลีฟีนอลทั้งหมด
โพลีฟีนอลิก เอไมด์ (Polyphenolic Amides) เช่น แคปไซซินอยด์ (Capsaicinoids) ซึ่งเป็นสารให้รสเผ็ดร้อนที่พบในพริก และอะเวนันทราไมด์ (Avenanthramides) ที่อาจช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
ซึ่งโกโก้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ที่เป็นโพลีฟีนอลประเภทหนึ่งนั่นเอง แล้วโพลีฟีนอลมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพตามงานวิจัยอย่างไรบ้าง?
2.1 มีส่วนช่วยลดความดันโลหิต [2]
จากการวิจัยพบว่าทั้งโกโก้และช็อกโกแลตในข้อมูลระบุว่าเป็น “ดาร์กช็อกโกแลต” ช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยตั้งข้องสังเกตว่าประชาชนที่อาศัยในแถบอเมริกากลาง นั้นดื่มโกโก้เป็นประจำเมื่อตรวจวัดความดัน จะมีความดันโลหิตต่ำกว่าประชาชนบนแผ่นดินใหญ่ที่ไม่ดื่มโกโก้ หรือดื่มในปริมาณน้อย เพราะฟลาโวนอยด์ในโกโก้มีส่วนช่วยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในเลือด ซึ่งสามารถเพิ่มการทำงานของหลอดเลือดและลดความดันโลหิต
ต่อมาจึงได้ทำการทดลองในผู้ป่วย 35 ราย โดยกำหนดให้ดื่มโกโก้ 0.05 – 3.7 ออนซ์ (1.4 – 105 กรัม) ซึ่งมีฟลาโวนอยด์ ประมาณ 30 – 1,218 มิลลิกรัม อย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง และหมั่นวัดความดันโลหิตเป็นประจำ พบว่าโกโก้ทำให้ความดันโลหิตลดลงถึง 2 มิลลิเมตรปรอท และพบว่าช่วยลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยมากกว่าผู้ที่มีความดันปกติ และในผู้สูงอายุ อาจจะเป็นไปได้ว่าโกโก้นั้นสามารถเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อผู้ป่วยความดันโลหิต
2.2 มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจวาย
ไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในเลือดที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและขยายหลอดเลือด ซึ่งลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ โกโก้ยังช่วยลด “ไขมันไม่ดี” หรือคอเลสเตอรอลชนิด LDL ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบป้องกันการเกิดลิ่มเลือดคล้ายกับการใช้แอสไพริน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง
จากการวิจัยและเก็บผลสำรวจในคน 157,809 คน ที่เผยแพร่โดย National center Biotechnology Information ของสหรัฐอเมริกา พบว่าการบริโภคช็อกโกแลตมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ยังรวมถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง [3]
มีการศึกษาในสวีเดน 2 ชิ้นงาน พบว่าการบริโภคช็อกโกแลต 0.7 – 1.1 ออนซ์ (19 – 30 กรัม) ทุกวัน ช่วยให้อัตราหัวใจล้มเหลวที่ลดลง แต่ไม่เห็นผลเมื่อบริโภคในปริมาณที่มากขึ้น [4]
ผลลัพธ์ต่าง ๆ จากหลากหลายการศึกษาค้นคว้าชี้ให้เห็นว่า การบริโภคโกโก้ที่อุดมไปด้วยโพลีฟีนอลในปริมาณเล็กน้อยเป็นประจำมีประโยชน์ในการป้องกันหัวใจ
2.3 มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าโพลีฟีนอลที่อยู่ในโกโก้แสนอร่อยที่หลายท่านชื่นชอบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน
เพราะฟลาโวนอยด์ยังมีผลต่อการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้นด้วย
จากการศึกษาผู้สูงอายุ 34 คน ให้รับประทานโกโก้ที่มีฟลาโวนอยด์สูง พบว่าการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองเพิ่มขึ้น 8% หลังจาก 1 สัปดาห์ และ 10% หลังจาก 2 สัปดาห์ [5] [6]
2.4 มีส่วนช่วยให้อารมณ์ดี และลดอาการซึมเศร้า [7]
สาเหตุมาจากสารฟลาโวนอยด์ในโกโก้นั้น ช่วยเปลี่ยนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารต่างๆ เท่านั้น ให้เป็นเซโรโทนิน (Serotonin) หรือหรือที่คุ้นเคยดีในสารแห่งความสุข หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินที่สมดุล จะช่วยในการพัฒนาระบบสื่อประสาท จะทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความเครียด ลดไมเกรน และลดอาการซึมเศร้า
มีการศึกษาเกี่ยวกับการรับประทานโกโก้ในหญิงตั้งครรภ์ พบว่า การรับประทานโกโก้บ่อยขึ้นเกี่ยวเนื่องกับความเครียดที่ลดลงและยังส้งผลถึงอารมณ์ที่ดีขึ้นของทารกในครรภ์ด้วย
สำหรับในชายสูงอายุพบว่า การรับประทานโกโก้สัมพันธ์กับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นทั้งสองทาง
2.5 มีส่วนช่วยควบคุมอาการโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [8]
หลายคนอ่านถึงส่วนนี้คงจะมีเสียงเอ๊ะขึ้นในใจ ว่าโกโก้หรือช็อกโกแลตที่ส่วนมากมีรสออกหวานจะช่วยเรื่องโรคเบาหวานที่เชื่อมโยงกับระดับน้ำตาลได้อย่างไร การบริโภคโกโก้มากเกินไปย่อมไม่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแน่นอน แต่โกโก้มีฤทธิ์ต้านเบาหวานได้จริงงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคโกโก้ที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์ ช่วยให้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ลดลง เนื่องจากฟลาโวนอยด์ในโกโก้ สามารถชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตและการดูดซึมในลำไส้ได้ จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการควบคุมการหลั่งอินซูลิน ลดการอักเสบ และกระตุ้นการดูดซึมน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
2.6 มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง [9]
โกโก้ มีฟลาโวนอยด์ที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดในบรรดาอาหารต่อน้ำหนักทั้งหมด ซึ่งฟลาโวนอยด์เปรียบเป็นยาสารพัดนึกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ด้วย รวมถึงความเป็นพิษต่ำ และผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มีการวิจัยอย่างละเอียดถึงส่วนประกอบของโกโก้พบว่ามีผลในการต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้กับการอักเสบ ยับยั้งการเติบโตของเซลล์ และช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และปกป้องเซลล์จากความเสียหาย
โดยอ้างอิงว่าส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตได้แน่นอน เพราะมีการทดลองในสัตว์โดยให้อาหารที่อุดมด้วยโกโก้หรือสารสกัดจากโกโก้ ปรากฏว่าสามารถลดมะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาว
2.7 มีส่วนช่วยลดอาการของโรคหอบหืด [10]
ไม่น่าเชื่อว่าประโยชน์ของโกโก้จะครอบคลุมไปถึงผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โดยการศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากโกโก้สามารถลดทั้งการหดตัวของทางเดินหายใจและความหนาของเนื้อเยื่อ เนื่องจากโกโก้มีสารต่อต้านโรคหืด เช่น ธีโอโบรมีน (Theobromine) และธีโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ปอดขยายออกทำให้หายใจผ่อนคลายและลดการอักเสบ ทั้งนี้ธีโอฟิลลีน ยังใช้ในการรักษาและป้องกันอาการหายใจผิดปกติ และหายใจลำบากที่เกิดจากโรคปอดเรื้อรัง
2.8 มีส่วนช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
เนื่องจากโกโก้มีสารประกอบมากมายที่มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย ต้านเอนไซม์ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำการวิจัยผงโกโก้ต่อภาวะฟันผุและโรคเหงือก ตัวอย่างจากการวิจัยกับสัตว์ชิ้นหนึ่ง โดยนำหนูที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากให้สารสกัดจากโกโก้ ปรากฏว่าภาวะฟันผุลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับน้ำเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพิ่มเติมแน่ชัดแล้วว่าโกโก้ในช็อกโกแลตไม่ได้เป็นสาเหตุของสิว แต่ในทางกลับกันพบว่าโกโก้ที่อุดมด้วยโพลีฟีนอลให้ประโยชน์อย่างมากต่อผิว การบริโภคโกโก้ในระยะยาวมีส่วนช่วยในการป้องกันแสงแดด ช่วยการไหลเวียนโลหิตของผิวหนัง และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวอีกด้วย
2.9 มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก [11]
การบริโภคโกโก้ หรือแม้แต่ช็อกโกแลตอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เชื่อกันว่าโกโก้อาจช่วยควบคุมการใช้พลังงาน ลดความอยากอาหารและการอักเสบ รวมถึงเพิ่มการออกซิเดชั่นของไขมันและทำให้รู้สึกอิ่ม หรือที่คุ้นหูกันว่า โกโก้คุมหิว
ในผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ จะให้โปรตีน 1 กรัม ไขมันทั้งหมด 13.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม ไฟเบอร์ 3 กรัม ปริมาณแป้งสุทธิ 1 กรัม และอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แมกซีเซียม แมงกานีส และทองแดง
หากคุณบริโภคช็อกโกแลตหรือโกโก้เป็นประจำจะส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าคนที่บริโภคช็อกโกแลตน้อยกว่าหรือไม่ได้บริโภคเลย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่น่าสนใจและน่าเชื่อถือ คือการลดน้ำหนักโดยใช้อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำพบว่ากลุ่มที่ได้เลือกบริโภคช็อกโกแลต ที่มีปริมาณโกโก้ 81% วันละ 42 กรัม จะลดน้ำหนักได้เร็วกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารปกติ
รับประทานโกโก้เพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด [12]
อ้างอิง
[1] 10 Health and Nutrition Benefits of Cocoa Powder
[2] Cocoa, Blood Pressure, and Vascular Function
[3] Habitual chocolate consumption and risk of cardiovascular disease among healthy men and women
[4] Chocolate intake and incidence of heart failure: a population-based prospective study of middle-aged and elderly women
[5] Chocolate intake and incidence of heart failure: a population-based prospective study of middle-aged and elderly women
[6] Chocolate intake and incidence of heart failure: Findings from the Cohort of Swedish Men
[7] โกโก้ บริโภคอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
[8] Effects of Cocoa Antioxidants in Type 2 Diabetes Mellitus
[9] Potential for preventive effects of cocoa and cocoa polyphenols in cancer
[10] Unsweetened natural cocoa has anti-asthmatic potential
[11] Chocolate with high Cocoa content as a weight-loss accelerator
[12] Cocoa flavanols and endothelium-dependent vasodilation
1. โกโก้ และ ช็อกโกแลต มาจากไหน ?
ต้นกำเนิดของทั้งโกโก้และช็อกโกแลตนั้นมาจากเมล็ดคาเคา (Cacao) หรือต้นโกโก้ โดยมีกรรมวิธีหลายขั้นตอนทั้ง หมัก คั่ว บด ที่คล้ายคลึงกันแต่แตกต่างที่ขั้นตอนการสกัดไขมันโกโก้ (โกโก้บัตเตอร์) เท่านั้น
1.1 จากเมล็ดคาเคาสู่โกโก้
เริ่มจาก การนำฝักโกโก้ที่สุกแล้ว ไปหมักเพื่อให้เกิดรสชาติ และตากให้แห้ง จากนั้นให้นำไปคั่วที่อุณหภูมิพอเหมาะจนเปลือกกล่อน จนหมดก็จะได้เป็น “โกโก้นิปส์” จากนั้นนำโกโก้นิปส์ไปบด ไม่ใช่บดแบบธรรมดานะคะ แต่เป็นบดในอุณหภูมิที่สูง เพราะความร้อนจะช่วยให้โกโก้มีสีน้ำตาลเข้มจนกลายเป็นโกโก้ลิเคอร์ แต่แค่นี้ยังร้อนไม่พอ เจ้าโกโก้สีน้ำตาลเข้มยังต้องถูกนำไปบีบอัดด้วยความร้อน เพื่อสกัดไขมันโกโก้ออกไปจนหมดหรืออาจจะเหลือแค่ 0 - 25% เท่านั้น จากนั้นในขั้นตอนสุดท้ายคือการนำเนื้อโกโก้ไปตากแห้งและบดเป็นผงละเอียดจนกลายเป็น “ผงโกโก้” ที่มีความเขมข้น
1.2 จากเมล็ดคาเคาสู่ช็อกโกแลต
ช็อกโกแลตนั้นมาจากเมล็ดคาเคาเช่นกัน โดยมีกระบวนการผลิตเหมือนกันกับผงโกโก้ด้วย แต่ส่วนที่ต่างกันนั้นคือเมื่อการหมักเมล็ดคาเคามาหมัก เพื่อให้เกิดจุลินทรีย์ เร่งอาหารมากมายที่อยู่ในเมล็ดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดแล้วนำไปตากแห้งเหมือนกันจนเกิด โกโก้ลิเคอร์แล้วจะไม่มีการสกัดไขมันโกโก้ที่เรียกว่าโกโก้บัตเตอร์ออกไป แต่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุดิบอื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำมันปาล์ม เป็นต้น แล้วค่อยไปตากแห้ง บดให้ละเอียดเช่นกัน ซึ่งทำให้ช็อกโกแลตที่เราได้บริโภคนั้นจึงมีรสชาตหวานหอม ติดหวาน และสามารถขึ้นรูปได้สวยงาม
จากที่มาข้างต้นสรุปได้ว่า โกโก้และช็อกโกแลตเป็นเสมือนแฝดเทียมกันค่ะ กำเนิดมาจากที่เดียวกัน ต่างกันแค่เพียงขั้นตอนการผลิต และปริมาณของ ไขมันโกโก้ที่มีไม่เท่ากัน และเจ้าโกโก้ที่มีไขมันโกโก้มากกว่านี่แหละจึงกลายเป็น ความอร่อยที่มีประโยชน์แบบมหาศาล แต่ช็อกโกแลตก็ใช่ว่าจะให้โทษ เพียงแต่ต้องเลือรับประทานแบบดาร์กช็อกโกแลตหรือช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้เกิน 70%
2. ท่องโลกประโยชน์ของโกโก้จากงานวิจัย [1]
โกโก้นั้นอยู่เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตตลอดกาลมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมมายาในอเมริกากลางและแพร่หลายสู่ยุโรปในศตวรรษที่ 16 โดยมีงานวิจัยและศึกษาหลายฉบับสรุปได้ว่าโกโก้นั้นมีประโยชน์มากมาย เต็มไปด้วยโพลีฟีนอลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
โดยโพลีฟีนอลคือกลุ่มของสารที่ให้สีที่พบในพืชผักผลไม้ทั่วไป อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยการทำงานของสมอง และอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งบางชนิด
ปัจจุบันมีการค้นพบโพลีฟีนอลมากกว่า 8,000 ชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่พบในพืชและอาหาร คือฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย โดยสารในกลุ่มโพลีฟีนอลมากกว่าครึ่งหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์
กรดฟีนอลิก (Phenolic Acids) เช่น สารสติลบีน (Stilbenes) และสารลิกแนน (Lignans) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับสารอื่น ๆ ในกลุ่มโพลีฟีนอล และมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในร่างกาย พบได้ประมาณ 30% จากสารในกลุ่มโพลีฟีนอลทั้งหมด
โพลีฟีนอลิก เอไมด์ (Polyphenolic Amides) เช่น แคปไซซินอยด์ (Capsaicinoids) ซึ่งเป็นสารให้รสเผ็ดร้อนที่พบในพริก และอะเวนันทราไมด์ (Avenanthramides) ที่อาจช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
ซึ่งโกโก้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ที่เป็นโพลีฟีนอลประเภทหนึ่งนั่นเอง แล้วโพลีฟีนอลมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพตามงานวิจัยอย่างไรบ้าง?
2.1 มีส่วนช่วยลดความดันโลหิต [2]
จากการวิจัยพบว่าทั้งโกโก้และช็อกโกแลตในข้อมูลระบุว่าเป็น “ดาร์กช็อกโกแลต” ช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยตั้งข้องสังเกตว่าประชาชนที่อาศัยในแถบอเมริกากลาง นั้นดื่มโกโก้เป็นประจำเมื่อตรวจวัดความดัน จะมีความดันโลหิตต่ำกว่าประชาชนบนแผ่นดินใหญ่ที่ไม่ดื่มโกโก้ หรือดื่มในปริมาณน้อย เพราะฟลาโวนอยด์ในโกโก้มีส่วนช่วยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในเลือด ซึ่งสามารถเพิ่มการทำงานของหลอดเลือดและลดความดันโลหิต
ต่อมาจึงได้ทำการทดลองในผู้ป่วย 35 ราย โดยกำหนดให้ดื่มโกโก้ 0.05 – 3.7 ออนซ์ (1.4 – 105 กรัม) ซึ่งมีฟลาโวนอยด์ ประมาณ 30 – 1,218 มิลลิกรัม อย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง และหมั่นวัดความดันโลหิตเป็นประจำ พบว่าโกโก้ทำให้ความดันโลหิตลดลงถึง 2 มิลลิเมตรปรอท และพบว่าช่วยลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยมากกว่าผู้ที่มีความดันปกติ และในผู้สูงอายุ อาจจะเป็นไปได้ว่าโกโก้นั้นสามารถเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อผู้ป่วยความดันโลหิต
2.2 มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจวาย
ไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในเลือดที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและขยายหลอดเลือด ซึ่งลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ โกโก้ยังช่วยลด “ไขมันไม่ดี” หรือคอเลสเตอรอลชนิด LDL ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบป้องกันการเกิดลิ่มเลือดคล้ายกับการใช้แอสไพริน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง
จากการวิจัยและเก็บผลสำรวจในคน 157,809 คน ที่เผยแพร่โดย National center Biotechnology Information ของสหรัฐอเมริกา พบว่าการบริโภคช็อกโกแลตมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ยังรวมถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง [3]
มีการศึกษาในสวีเดน 2 ชิ้นงาน พบว่าการบริโภคช็อกโกแลต 0.7 – 1.1 ออนซ์ (19 – 30 กรัม) ทุกวัน ช่วยให้อัตราหัวใจล้มเหลวที่ลดลง แต่ไม่เห็นผลเมื่อบริโภคในปริมาณที่มากขึ้น [4]
ผลลัพธ์ต่าง ๆ จากหลากหลายการศึกษาค้นคว้าชี้ให้เห็นว่า การบริโภคโกโก้ที่อุดมไปด้วยโพลีฟีนอลในปริมาณเล็กน้อยเป็นประจำมีประโยชน์ในการป้องกันหัวใจ
2.3 มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าโพลีฟีนอลที่อยู่ในโกโก้แสนอร่อยที่หลายท่านชื่นชอบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน
เพราะฟลาโวนอยด์ยังมีผลต่อการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้นด้วย
จากการศึกษาผู้สูงอายุ 34 คน ให้รับประทานโกโก้ที่มีฟลาโวนอยด์สูง พบว่าการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองเพิ่มขึ้น 8% หลังจาก 1 สัปดาห์ และ 10% หลังจาก 2 สัปดาห์ [5] [6]
2.4 มีส่วนช่วยให้อารมณ์ดี และลดอาการซึมเศร้า [7]
สาเหตุมาจากสารฟลาโวนอยด์ในโกโก้นั้น ช่วยเปลี่ยนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารต่างๆ เท่านั้น ให้เป็นเซโรโทนิน (Serotonin) หรือหรือที่คุ้นเคยดีในสารแห่งความสุข หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินที่สมดุล จะช่วยในการพัฒนาระบบสื่อประสาท จะทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความเครียด ลดไมเกรน และลดอาการซึมเศร้า
มีการศึกษาเกี่ยวกับการรับประทานโกโก้ในหญิงตั้งครรภ์ พบว่า การรับประทานโกโก้บ่อยขึ้นเกี่ยวเนื่องกับความเครียดที่ลดลงและยังส้งผลถึงอารมณ์ที่ดีขึ้นของทารกในครรภ์ด้วย
สำหรับในชายสูงอายุพบว่า การรับประทานโกโก้สัมพันธ์กับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นทั้งสองทาง
2.5 มีส่วนช่วยควบคุมอาการโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [8]
หลายคนอ่านถึงส่วนนี้คงจะมีเสียงเอ๊ะขึ้นในใจ ว่าโกโก้หรือช็อกโกแลตที่ส่วนมากมีรสออกหวานจะช่วยเรื่องโรคเบาหวานที่เชื่อมโยงกับระดับน้ำตาลได้อย่างไร การบริโภคโกโก้มากเกินไปย่อมไม่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแน่นอน แต่โกโก้มีฤทธิ์ต้านเบาหวานได้จริงงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคโกโก้ที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์ ช่วยให้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ลดลง เนื่องจากฟลาโวนอยด์ในโกโก้ สามารถชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตและการดูดซึมในลำไส้ได้ จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการควบคุมการหลั่งอินซูลิน ลดการอักเสบ และกระตุ้นการดูดซึมน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
2.6 มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง [9]
โกโก้ มีฟลาโวนอยด์ที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดในบรรดาอาหารต่อน้ำหนักทั้งหมด ซึ่งฟลาโวนอยด์เปรียบเป็นยาสารพัดนึกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ด้วย รวมถึงความเป็นพิษต่ำ และผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มีการวิจัยอย่างละเอียดถึงส่วนประกอบของโกโก้พบว่ามีผลในการต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้กับการอักเสบ ยับยั้งการเติบโตของเซลล์ และช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และปกป้องเซลล์จากความเสียหาย
โดยอ้างอิงว่าส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตได้แน่นอน เพราะมีการทดลองในสัตว์โดยให้อาหารที่อุดมด้วยโกโก้หรือสารสกัดจากโกโก้ ปรากฏว่าสามารถลดมะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาว
2.7 มีส่วนช่วยลดอาการของโรคหอบหืด [10]
ไม่น่าเชื่อว่าประโยชน์ของโกโก้จะครอบคลุมไปถึงผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โดยการศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากโกโก้สามารถลดทั้งการหดตัวของทางเดินหายใจและความหนาของเนื้อเยื่อ เนื่องจากโกโก้มีสารต่อต้านโรคหืด เช่น ธีโอโบรมีน (Theobromine) และธีโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ปอดขยายออกทำให้หายใจผ่อนคลายและลดการอักเสบ ทั้งนี้ธีโอฟิลลีน ยังใช้ในการรักษาและป้องกันอาการหายใจผิดปกติ และหายใจลำบากที่เกิดจากโรคปอดเรื้อรัง
2.8 มีส่วนช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
เนื่องจากโกโก้มีสารประกอบมากมายที่มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย ต้านเอนไซม์ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำการวิจัยผงโกโก้ต่อภาวะฟันผุและโรคเหงือก ตัวอย่างจากการวิจัยกับสัตว์ชิ้นหนึ่ง โดยนำหนูที่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากให้สารสกัดจากโกโก้ ปรากฏว่าภาวะฟันผุลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับน้ำเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพิ่มเติมแน่ชัดแล้วว่าโกโก้ในช็อกโกแลตไม่ได้เป็นสาเหตุของสิว แต่ในทางกลับกันพบว่าโกโก้ที่อุดมด้วยโพลีฟีนอลให้ประโยชน์อย่างมากต่อผิว การบริโภคโกโก้ในระยะยาวมีส่วนช่วยในการป้องกันแสงแดด ช่วยการไหลเวียนโลหิตของผิวหนัง และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวอีกด้วย
2.9 มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก [11]
การบริโภคโกโก้ หรือแม้แต่ช็อกโกแลตอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เชื่อกันว่าโกโก้อาจช่วยควบคุมการใช้พลังงาน ลดความอยากอาหารและการอักเสบ รวมถึงเพิ่มการออกซิเดชั่นของไขมันและทำให้รู้สึกอิ่ม หรือที่คุ้นหูกันว่า โกโก้คุมหิว
ในผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ จะให้โปรตีน 1 กรัม ไขมันทั้งหมด 13.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม ไฟเบอร์ 3 กรัม ปริมาณแป้งสุทธิ 1 กรัม และอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แมกซีเซียม แมงกานีส และทองแดง
หากคุณบริโภคช็อกโกแลตหรือโกโก้เป็นประจำจะส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าคนที่บริโภคช็อกโกแลตน้อยกว่าหรือไม่ได้บริโภคเลย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่น่าสนใจและน่าเชื่อถือ คือการลดน้ำหนักโดยใช้อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำพบว่ากลุ่มที่ได้เลือกบริโภคช็อกโกแลต ที่มีปริมาณโกโก้ 81% วันละ 42 กรัม จะลดน้ำหนักได้เร็วกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารปกติ
รับประทานโกโก้เพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด [12]
- หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรปแนะนำให้รับประทานผงโกโก้ดังนี้
- ควรเลือกโกโก้ที่เป็นโกโก้แท้ 100% และไม่ควรใส่ส่วนผสมอย่างนม หรือน้ำตาล เพิ่มมากเกินไป
- หากจะรับประทานดาร์กช็อกโกแลตควรเลือกที่มีคุณภาพดีและมีโกโก้เป็นผสมอย่างน้อย 70% เพราะมีปริมาณฟลาโวนอยด์มากกว่าที่มีส่วนผสมของนมเยอะ
- ควรใช้ผงโกโก้ที่ไม่ผ่านการอัลคาไลซ์
- สำหรับสุขภาพของหัวใจ ให้เลือกผงโกโก้ฟลาโวนอยด์สูง 0.1 ออนซ์ (2.5 กรัม) หรือ ช็อกโกแลตฟลาโวนอยด์สูง 0.4 ออนซ์ (10 กรัม) เพิ่มในอาหารทุกวัน
- ปริมาณโกโก้ที่ใช้ในช็อกโกแลตจะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต และฟลาโวนอยด์มักถูกทำลายในการผลิตช็อกโกแลตเพราะฉะนั้น การเลือกรับประทานเครื่องดื่มที่โกโก้ล้วนนๆ ย่อมให้ประโยชน์มากกว่า หรือประเภทโกโก้ผงชงดื่ม
- โกโก้ที่หาซื้อได้ทั่วไปยังมีน้ำตาลและไขมันในปริมาณมาก จึงควรบริโภคในปริมาณที่พอดี
- การรับประทานโกโก้แบบเพิ่มนม และน้ำตาล จะทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงขึ้น
- การแปรรูปและให้ความร้อนแก่โกโก้อาจทำให้สูญเสียคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ไปได้
- กระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อลดความขมในโกโก้ ส่งผลให้ปริมาณฟลาโวนอลลดลง 60%
- โกโก้มีสารธีโอโบรมีนสูง มีฤทธิ์คล้ายคาเฟอีน หากรับประทานมากอาจส่งผลให้ใจสั่น หรือนอนไม่หลับได้
- โกโก้และช็อกโกแลตอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย จึงควรเลือกรับประทานโกโก้ที่มีไขมันน้อยมาก และดาร์กช็อกโกแลตที่ไม่ผสมนมและน้ำตาลเพิ่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
อ้างอิง
[1] 10 Health and Nutrition Benefits of Cocoa Powder
[2] Cocoa, Blood Pressure, and Vascular Function
[3] Habitual chocolate consumption and risk of cardiovascular disease among healthy men and women
[4] Chocolate intake and incidence of heart failure: a population-based prospective study of middle-aged and elderly women
[5] Chocolate intake and incidence of heart failure: a population-based prospective study of middle-aged and elderly women
[6] Chocolate intake and incidence of heart failure: Findings from the Cohort of Swedish Men
[7] โกโก้ บริโภคอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
[8] Effects of Cocoa Antioxidants in Type 2 Diabetes Mellitus
[9] Potential for preventive effects of cocoa and cocoa polyphenols in cancer
[10] Unsweetened natural cocoa has anti-asthmatic potential
[11] Chocolate with high Cocoa content as a weight-loss accelerator
[12] Cocoa flavanols and endothelium-dependent vasodilation
Other Articles